วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556





พฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนพะเยาพิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

 นายบริพัตร           หงส์ทอง        เลขที่ 6   ชั้น ม.5/9
     น.ส.ชาลิสา              เตชะวรวัฒน์  เลขที่ 19  ชั้น ม.5/9
  น.ส.จิราพรรณ      โลมะวิสัย       เลขที่ 22  ชั้น ม.5/9



การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) รหัสวิชา ว32286
ตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม










พฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนพะเยาพิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5




นายบริพัตร               หงส์ทอง        เลขที่ 6   ชั้น ม.5/9
น.ส.ชาลิสา              เตชะวรวัฒน์  เลขที่ 19  ชั้น ม.5/9
น.ส.จิราพรรณ         โลมะวิสัย       เลขที่ 22  ชั้น ม.5/9




การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) รหัสวิชา ว32286
ตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม


ชื่องานวิจัย      พฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนพะเยาพิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้จัดทำ     1. นายบริพัตร            หงส์ทอง     เลขที่ 6   ชั้น ม.5/9
2.น.ส.ชาลิสา             เตชะวรวัฒน์      เลขที่ 19  ชั้น ม.5/9
3.น.ส.จิราพรรณ                โลมะวิสัย    เลขที่ 22  ชั้น ม.5/9
โรงเรียน  พะเยาพิทยาคม ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
ครูที่ปรึกษา           ครูยิ่งศักดิ์               กระจ่างแจ้ง

บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนพะเยาพิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อศึกษาการมาโรงเรียนสายของนักเรียน หาวิธีแก้ไขปัญหาการมาโรงเรียนสายของนักเรียน ส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลา เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด และเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการมาสายของนักเรียน และนำข้อมูลที่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เรื่องพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนพะเยาพิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มาวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นโดยสาเหตุใด แล้วมีผลเสียต่อตนเองอย่างไร และนำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาหาวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมาโรงเรียนสาย และทำให้ผู้ทำเครื่องมือวิจัยตระหนักถึงผลเสียมากมายของการมาโรงเรียนสาย โดยกำหนดให้สถานที่เก็บรวบรวมข้อมูล คือ โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ด้วยการคิดคำนวณเป็นร้อยละแล้วนำมาจัดทำเป็นแผนภูมิ และสรุปผลการวิจัยได้ว่า สาเหตุที่นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มาสายมากที่สุด คือ ตื่นสาย รองลงมา คือ ติดธุระ และรอรับเพื่อน มีความถี่ในการมาโรงเรียนสายมากที่สุด คือ มาโรงเรียนสายน้อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน รองลงมา คือ การมาโรงเรียนสายมากกว่า 2 – 3 ครั้งต่อเดือน และมาโรงเรียนสาย 2 -3 ครั้งต่อเดือน โดยผลเสียของการมาโรงเรียนสายที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คิดว่ามากที่สุด คือ ทำให้เข้าเรียนไม่ทัน รองลงมา คือ การที่ไม่สามารถรับข่าวสารของทางโรงเรียนในช่วงเช้าได้ และโดนทำโทษ ทำให้โดนเช็คชื่อในใบรายชื่อนักเรียนที่มาโรงเรียนสาย และทำให้เสียการเรียน ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์ทั้งต่อตัวของนักเรียนเองและมีประโยชน์ต่อครูด้วย



บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
        โรงเรียนพะเยาพิทยาคมเป็นโรงเรียนของรัฐบาล  ตั้งอยู่ที่ 97 ถนน ประตูชัย ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ได้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3,723 คน
        จากการศึกษาระเบียบของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ว่าด้วยระเบียบของการมาสายของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ซึ่งตรงกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมวด 4 มาตราที่ 24 , 26 , 30 หมวด แนวทางการจัดการเรียนรู้ โดยมาตรา 1 – 6 ( 26 ) โดยให้สอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง สามารถปฏิบัติได้ คิดเป็น ทาเป็น รักการอ่าน มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี รวมถึงส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสม
        เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม การเจริญเติบโตขึ้นเป็นบุตรที่ดีของบิดา มารดา เป็นศิษย์ที่ดีของครูและเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ โดยการอาศัยระเบียบ การควบคุมความประพฤติของนักเรียนในเรื่องของการมาสาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2. เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3. ส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลา
4. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด
5. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการมาสายของนักเรียน
สมมุติฐานของงานวิจัย
        ข้อปฏิบัติของการเป็นนักเรียนในเรื่องการมาสาย นักเรียนต้องมาถึงโรงเรียนก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ นักเรียนที่มาโรงเรียนไม่ทันเข้าแถวเคารพธงชาติไม่ทันจะถือว่ามาสายให้รายงานตัวด้วยและลงชื่อต่อครูเวรประจำวันนั้น ๆ และให้เข้าแถวอยู่ต่างหากเฉพาะนักเรียนที่มาสาย นักเรียนที่มาสายจะถูกพิจารณาโทษในแต่ละครั้งโดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูเวรประจำวันนั้น ๆ และเสนอชื่อให้หัวหน้าช่วงชั้นปกครองดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ขอบเขตการวิจัย
1.ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน ถึง วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555
2.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 คน



คำนิยายศัพท์เฉพาะ

การบริหารงานปกครอง       – การที่ผู้บริหารโรงเรียนด้านการปกครองดำเนินการหรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับงานปกครอง โดยสามารถวัดได้จากความคิดเห็นของครู และผู้บริหารโรงเรียน
งานปกครอง              – งานที่ดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน
ระเบียบปฏิบัติ             – ระเบียบของโรงเรียนที่ให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติตามระเบียบ
การมาสาย         นักเรียนที่มาไม่ทันเข้าแถวเคารพธงชาติ ให้ถือว่ามาสาย ให้มารายงานตัวและลงชื่อต่อครูเวรประจำวัน



























บทที่2 
เอกสารและผลงานที่เกี่ยวข้อง

จากเอกสารเกี่ยวกับการบริหารงานด้านการปกครองนักเรียน ได้แก่

ข้อปฏิบัติของการเป็นนักเรียน
1.การมาโรงเรียน
1.1 นักเรียนต้องมาถึงโรงเรียนก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ
1.2 นักเรียนที่มาโรงเรียนไม่ทันเข้าแถวเคารพธงชาติให้ถือว่ามาสายให้รายงานตัวและลงชื่อต่อครูเวรประจำวันนั้นๆและให้เข้าแถวอยู่ต่างหากเฉพาะนักเรียนมาสาย นักเรียนที่มาสายจะถูกพิจารณาโทษในแต่ละครั้งโดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูเวรประจำวันนั้นๆ และเสนอชื่อให้หัวหน้าช่วงชั้นปกครองดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
สำหรับนักเรียนที่มาสาย (ไม่ทันเข้าแถวเคารพธงชาติ) จะมีผลดังนี้
1. มาสาย 1-5 ครั้ง คุณครูประจำชั้นว่ากล่าวตักเตือน และ/หรือหักคะแนนความประพฤติไม่เกินครั้งละ 5 คะแนน และบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน
2. มาสายเกิน 6–10 ครั้ง หัวหน้าระดับว่ากล่าวตักเตือน และ/หรือหักคะแนนความประพฤติไม่เกินครั้งละ 8 คะแนน และบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน
3. มาสายเกิน 10 ครั้ง แผนกปกครอง เชิญผู้ปกครองมาพบ และ/หรือหักคะแนนความประพฤติครั้งละ ไม่เกิน 10 คะแนน และบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน
1.3 นักเรียนที่มาสายหลังเข้าแถวเคารพธงชาติ ต้องลงชื่อมาสายที่ห้องกิจการนักเรียนทุกครั้งโดยนักเรียนที่มาสายจะถูกพิจารณาในแต่ละครั้ง และนักเรียนต้องแสดงใบอนุญาตเข้าชั้นเรียน (กรณีมาสาย) ก่อนเข้าห้องเรียน
ต่อคุณครูผู้สอนทุกครั้ง
สำหรับนักเรียนที่มาสาย (หลังเข้าแถวเคารพธงชาติ) จะมีผลดังนี้
1. มาสาย 1-5 ครั้ง คุณครูประจำชั้นว่ากล่าวตักเตือน และ/หรือหักคะแนนความประพฤติครั้งละไม่เกิน 8 คะแนน พร้อมทั้งบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน
2. มาสายเกิน 5 ครั้ง หัวหน้าช่วงชั้นปกครอง เชิญผู้ปกครองมาพบ และ/หรือหักคะแนนความประพฤติ 3 ครั้งละไม่เกิน 10 คะแนน พร้อมทั้งบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน
1.4 นักเรียนที่มีความจำเป็นต้องมาสาย เช่น ช่วยงานผู้ปกครอง หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่เห็นสมควรให้ผู้ปกครองขออนุญาตจากแผนกปกครองเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน และนักเรียนต้องแสดงใบอนุญาตเข้า ชั้นเรียน (กรณีมาสาย) จากแผนกปกครองต่อคุณครูเวรประจำวันที่ห้องกิจการนักเรียนทุกครั้งที่มาสาย
1.5 การเข้าออกโรงเรียนของนักเรียนให้เดินบนบาทวิถีเท่านั้น หากเข้า-ออกเป็นกลุ่มใหญ่ให้เดินเป็นแถว และให้ใช้ประตูเข้า-ออกตามที่โรงเรียนกำหนด
1.6 ห้ามนักเรียนนำยานพาหนะใด ๆ เข้ามาในโรงเรียนโดยเด็ดขาดยกเว้นรถจักรยาน
1.7 นักเรียนที่ผู้ปกครองมาส่ง หรือมารถรับ-ส่งประจำ ต้องลงรถที่จุดรับ-ส่งที่ทางโรงเรียนกำหนดให้เท่านั้น และตอนเลิกเรียนให้ผู้ปกครอง หรือรถรับ-ส่งนักเรียนรับนักเรียนตรงจุดรับ - ส่งที่ทางโรงเรียนกำหนด (ยกเว้นกรณีที่นักเรียนเจ็บป่วย หรือฝนตก)
1.8 นักเรียนที่ใช้บริการรถโดยสารทุกชนิด ให้ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรโดยเคร่งครัด(การข้ามถนนของนักเรียนให้ใช้ทางม้าลายเท่านั้น)
ระเบียบของนักเรียน โรงเรียนพะเยาพิทยาคมว่าด้วยความประพฤติและการปฏิบัติของนักเรียน
1. การมาเรียน
1.1 นักเรียนทุกคนต้องมาโรงเรียนให้ทันเข้าแถว เพื่อเคารพธงชาติก่อนเวลา 08.00 .
1.2 นักเรียนที่มาหลังเวลา 08.01 . ต้องขอใบอนุญาตเข้าห้องเรียนจากครูฝ่ายปกครอง
1.3 นักเรียนที่มาหลังเวลา 09.30 . ถือเป็นขาดเรียน

































บทที่ 3
วิธีดำเนินงาน

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
       ประชากรเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สุ่มมาเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน

เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
        1.อุปกรณ์เครื่องเขียน
        2.แบบสัมภาษณ์
        3.แบบสังเกต
        4.แบบสอบถาม
        5.คอมพิวเตอร์

ขั้นตอนและวัสดุและวิธีการดำเนินงาน
1.  ตรวจสอบนักเรียนที่ทางเข้าประตู 1
2.  นับจำนวนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3.  สุ่มให้ทำเครื่องมือวิจัยเป็นจำนวน 20 คน
4.  สอบถามถึงเหตุผลในการมาโรงเรียนสาย และโทษของการมาโรงเรียนสาย
5.  เก็บรวบรวมข้อมูล
6.  สรุปผล และนำเสนอ












บทที่ 4
ผลการวิจัย
       จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม พบว่า  นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5  ที่เคยมาสายมีถึง 50 % และไม่เคยมาสาย 50 %
จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม พบว่า  นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5  ที่เคยมาสายมีความถี่ในการมาโรงเรียนสายมากที่สุด คือ มาโรงเรียนสายน้อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน  (50 %) รองลงมา คือ การมาโรงเรียนสายมากกว่า 2 – 3 ครั้งต่อเดือน   (30 %) และมาโรงเรียนสาย 2 -3 ครั้งต่อเดือน   (20 %) ตามลำดับ

        จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามนักเรียนที่เคยมาโรงเรียนสาย พบว่า  เหตุผลที่นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มาสายมากที่สุด คือ ตื่นสายมากถึง 80 %   รองลงมา คือ ติดธุระ และรอรับเพื่อน มีเพียง 10 % เท่านั้น

        จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ พบว่า  การลงโทษนักเรียนที่มาโรงเรียนสายที่มากที่สุด คือ วิ่ง (38 %) รองลงมา คือ ลุกนั่ง (31 %) กระโดดตบ (19 %) และเก็บขยะ (12 %) ตามลำดับ



        จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ พบว่า  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คิดว่าผลเสียของการมาโรงเรียนสายที่มากที่สุด คือ ทำให้เข้าเรียนไม่ทัน (35.29 %) รองลงมา คือ การที่ไม่สามารถรับข่าวสารของทางโรงเรียนในช่วงเช้าได้ และการโดนทำโทษ (11.76 %)   ทำให้โดนเช็คชื่อในใบรายชื่อนักเรียนที่มาโรงเรียนสาย และทำให้เสียการเรียน (5.88 %)

        จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ พบว่า  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เคยมาสายคิดว่าสามารถแก้ปัญหาการมาโรงเรียนสายของตนเองได้ มีถึง 90 %   และมีนักเรียนที่ไม่สามารถทำได้อยู่ 10 %
        และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่คิดว่าสามารถแก้ปัญหาการมาโรงเรียนสายของตนเองได้นั้น จะตื่นให้เร็วขึ้นนั้น มากถึง 44.44 %   รองลงมา คือ การตั้งนาฬิกาปลุกมากถึง 33.33 %    และเร่งเพื่อนให้ทำกิจกรรมในตอนเช้าให้เสร็จไวๆ ถึง 11.11 %




















บทที่ 5

สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

สรุปตามวัตถุประสงค์
                สาเหตุของการมาเรียนสายส่วนใหญ่ คือ ตื่นสาย โดยมีสาเหตุมาจาก เหตุผลส่วนตัว รองลงมา คือ รอรับเพื่อน ทำให้เพิ่มสถิติการมาสายเพิ่มขึ้นทุกวัน และขาดระเบียบวินัยในตนเองและสังคม การมาสายถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าร่วมสังคมที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ควรจะตรงเวลา
        ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อครู และนักเรียนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมาสายให้ลดน้อยลง และสถิติการมาสายก็จะลดไป มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคมในเรื่องระเบียบวินัย ให้คำตักเตือนและลงโทษนักเรียนที่มีพฤติกรรมมาสายบ่อยครั้ง

อภิปรายผลการวิจัย
        จากการวิจัย โดยสุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 คน ในการตอบแบบสอบถาม พบว่า
นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5  มีความถี่ในการมาโรงเรียนสายมากที่สุด คือ มาโรงเรียนสายน้อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน  (50 %) รองลงมา คือ การมาโรงเรียนสายมากกว่า 2 – 3 ครั้งต่อเดือน   (30 %) และมาโรงเรียนสาย 2 -3 ครั้งต่อเดือน   (20 %) ตามลำดับ   แล้วเหตุผลที่นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มาสายมากที่สุด คือ ตื่นสายมากถึง 80 %   รองลงมา คือ ติดธุระ และรอรับเพื่อน มีเพียง 10 % เท่านั้น
ในการตอบสัมภาษณ์ พบว่า
การลงโทษนักเรียนที่มาโรงเรียนสายที่มากที่สุด คือ วิ่ง (38 %) รองลงมา คือ ลุกนั่ง (31 %) กระโดดตบ (19 %) และเก็บขยะ (12 %) ตามลำดับ ส่วนผลเสีย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คิดว่าผลเสียของการมาโรงเรียนสายที่มากที่สุด คือ ทำให้เข้าเรียนไม่ทัน (35.29 %) รองลงมา คือ การที่ไม่สามารถรับข่าวสารของทางโรงเรียนในช่วงเช้าได้ และการโดนทำโทษ (11.76 %)   ทำให้โดนเช็คชื่อในใบรายชื่อนักเรียนที่มาโรงเรียนสาย และทำให้เสียการเรียน (5.88 %)  และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่คิดว่าสามารถแก้ปัญหาการมาโรงเรียนสายของตนเองได้นั้น จะตื่นให้เร็วขึ้นนั้น มากถึง 44.44 %   รองลงมา คือ การตั้งนาฬิกาปลุกมากถึง 33.33 %    และเร่งเพื่อนให้ทำกิจกรรมในตอนเช้าให้เสร็จไวๆ ถึง 11.11 %
ข้อเสนอแนะ
1.ควรมีการลงโทษนักเรียนที่มาสายอย่างเข้มงวด
2.ควรจะตรวจสอบสถิติของนักเรียนที่มาสายเป็นประจำเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาการมาโรงเรียนสาย



บรรณานุกรม

ตัวอย่างงานวิจัย. [Online]. www.fve.ac.th/car/2555/term1/036.pdf.2555, มกราคม 12.
ตัวอย่างงานวิจัย. [Online]. swis.act.ac.th/html_edu/act/temp_emp_research/507.pdf. 2555, มกราคม 12.
ตัวอย่างงานวิจัย. [Online]. ptcs.ac.th/aoi1.pdf. 2555, มกราคม 12.
ตัวอย่างงานวิจัย. [Online]. www.ilovektech.com/research/RE_SH/SH10.pdf. 2555, มกราคม 12.
ตัวอย่างงานวิจัย. [Online]. www.sl.ac.th/html_edu/sl/temp_emp_research/443.pdf. 2555, มกราคม 12.
ตัวอย่างงานวิจัย. [Online]. www.nkt.ac.th/images/sub_1312684940/v2.pdf. 2555, มกราคม 12.
ตัวอย่างงานวิจัย. [Online]. www.smtech.ac.th/pdf/1327294890.pdf. 2555, มกราคม 12.
บทคัดย่องานวิจัย. [Online]. http://www.oknation.net/blog/ma-sd52/2009/08/11/entry-2. 2556, กุมภาพันธ์ 28.